2014年11月30日星期日




ความหมายของรีโมทเซนซิ่ง


                 คําวา “รีโมทเซนซิ่ง“ (Remote Sensing) 
ประกอบขึ้นมาจากการรวม 2 คําซึ่งแยกออกไดดังนี้ คือ
Remote = ระยะไกล
Sensing = การรับรู

                         Remote Sensing  เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ พื้นที่ หรือปรากฏการณ์จากเครื่องมือบันทึกข้อมูล โดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้อาศัย คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เปนสื่อในการไดมาของขอมูล 3 ลักษณะคือ ชวงคลื่น รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก และการเปลี่ยนแปลงตามชวงเวลา 
                   ในภาษาไทย Remote Sensing มีหลายคำที่ใช้กันอยู่ได้แก่"การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล" "การสำรวจข้อมูลด้วยดาวเทียม" และ "การรับรู้จากระยะไกล"  เป็นต้น โดยคำที่ใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นทางการคือ"การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล"
       
       ในปจจุบันนี้อาจกลาวไดวารีโมทเซนซิ่ง เปนเครื่องมือทางการวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากเพราะไดขอมูลที่ทันตอเหตุการณ เปนขอมูลที่ครอบคลุมบริเวณกวาง และสามารถบันทึกภาพในบริเวณเดิมในเวลาที่แนนอนเหมาะที่จะนํามาใชศึกษาเรื่องการเปลี่ยนแปลงดังนั้นจึงเปนขอมูลที่เพิ่มประสิทธิภาพของมนุษยในการวางแผนงานและการตัดสินใจไดดีขึ้น

เทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม หรือการสำรวจข้อมูลจากระยะไกล(Remote Sensing) ในประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2514 โดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการประสานงานกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม  ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ(NASA) ในการใช้ประโยชน์ข้อมูลดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดวงแรก ได้แก่ LANDSAT-1 โดยตั้งเป็นโครงการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียมภายใต้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม ในปีพ.ศ. 2522 และโดยที่ได้มีหน่วยงานต่างๆ นำเอาข้อมูลดาวเทียมไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ดังนั้น ครม. จึงได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติจัดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ขึ้นมาในปีพ.ศ. 2523 เพื่อท าหน้าที่ในการรับและผลิตข้อมูลดาวเทียม นับเป็นสถานีแห่งแรกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปัจจุบันกิจกรรมเหล่านี้ได้โอนไปอยู่ภายใต้หน่วยงาน "สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่2 พฤศจิกายน พ.ศ.2543

        ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมสำรวจทรัพยากรเหล่านี้ได้นำไปใช้งานในการสำรวจและติดตาม
การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม ในหลายสาขา อาทิเช่น การใช้ที่ดิน การป่าไม้การเกษตร ธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนา ทั้งทางด้านบุคลากรและเครื่องมือเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ประเภทของระบบการสํารวจขอมูลจากระยะไกล

1.Passive remote sensing

        Passive remote sensing เปนระบบรีโมทเซนซิงที่ใชตั้งแตเริ่มแรกจนถึงปจจุบัน โดยมีดวงอาทิตยเปนแหลงกําเนิดพลังงานตามธรรมชาติ ระบบนี้จึงรับสัญญาณและบันทึกขอมูลไดในชวงเวลากลางวันเปนสวนใหญ ดวยการอาศัยการสะทอนพลังงานของวัตถุบนพื้นโลกดวยแสงอาทิตยดังนั้นระบบนี้จึงมีขอจํากัดดานสภาวะอากาศทําใหไมสามารถบันทึกขอมูลไดดีในชวงฤดูฝน หรือในช่วงเวลาที่มีเมฆ หมอกปกคลุมอยางหนาแนน อยางไรก็ตามระบบนี้สามารถบันทึกขอมูลในชวงคลื่นอินฟราเรดความรอน (Thermal Infrared) ซึ่งเปนการแผพลังงานความรอน(Emission)จากวัตถุบนพื้นผิวโลกในเวลากลางคืนได

2.Active remote sensing

       Active remote sensing เปนระบบรีโมทเซนซิงที่มีแหลงกําเนิดพลังงานจากการสรางขึ้นของอุปกรณสํารวจในชวงคลื่นไมโครเวฟ ที่นํามาใชในระบบเรดาร (Radio Detector and Ranging) โดยสงผานพลังงานนั้นไปยังพื้นที่เปาหมายและบันทึกสัญญาณการกระจัดกระจายกลับ(Backscatter) จากพื้นที่เปาหมาย ระบบนี้สามารถทํางานไดโดยไมมีขอจํากัดดานเวลาและสภาพภูมิอากา ทั้งยังสามารถสงสัญญาณทะลุผานกลุมเมฆ หมอก ฝน ทําใหสามารถบันทึกสัญญาณไดทั้งเวลากลางวันและกลางคืนในทุกฤดูกาล



การแปลความหมายภาพจากดาวเทียมดวยสายตา

        การแปลภาพ (Image Interpretation) เปนวิธีการแปลความหมายจากขอมูลภาพดวยสายตาเพื่อใหไดมาซึ่งขอมูลที่ตองการ เชนลักษณะการใชที่ดิน การเลือกแปลภาพดวยสายตา โดยทั่วไปแลวมักจะเปนขอมูลที่อยูในลักษณะแผนภาพ หรือแผนฟลม การจําแนกขอมูลดวยวิธีนี้มักจะประมวลและวิเคราะหขอมูลที่ไดจากภาพถายทางอากาศหรือภาพดาวเทียมเขากับขอมูลอื่นๆ เชน ขอมูลที่ไดจากการสํารวจภาคสนาม
         ผูที่สามารถจะทําการแปลภาพไดดีนั้นจะตองมีคุณสมบัติที่เหมาะสม เชน มีพื้นความรูในสาขาวิชาที่เกี่ยวของพอสมควร มีสภาพความคิดที่กวางไกล สามารถที่จะประมวลเรื่องราวหลายอยางเขาดวยกัน และมีความคิดพิจารณาอยูเสมอ เพื่อที่จะนําไปสูการตีความใหดียิ่งขึ้นและ มีประสบการณ ในการแปลขอมูลมาแลวพอสมควรนอกจากคุณสมบัติของผูแปลแลวยังมีปจจัยดานอื่น ๆ ที่ควรจะนํามาพิจารณารวมดวย คือ
1.คุณภาพของขอมูล เชนควรเปนภาพที่มีมาตราสวนที่เหมาะสม ไดจากการเก็บบันทึกขอมูลที่ดีไมมีความบกพรองของระบบบันทึกขอมูล
2.ความพรอมของอุปกรณซึ่งจะชวยในการแปลขอมูลภาพไดสะดวก รวดเร็ว และถูกตองมากขึ้น เชน เครื่องมองภาพสามมิติ (Stereoscope) ชวยใหผูแปลสามารถมองเห็น ความสูงต่ําของวัตถุ หรือภูมิประเทศในภาพถายทางอากาศ และเครื่องถายทอดรายละเอียดจากแผนฟลมของขอมูลภาพดาวเทียม (Image projector)ชวยใหผูแปลสามารถดึงขอมูลที่ตองการออกมาจากภาพไดรวดเร็วเปนตน



อ้างอิง : http://soundwaves.usgs.gov/2009/10/research.html
http://www.gisthai.org/about-gis/remote-sensing.html
http://civil11korat.tripod.com/Data/RS.htm



沒有留言:

發佈留言